Similar Posts
จากสามเณรภาคฤดูร้อน… สู่การอุปสมบทพรรษาที่ 25 ของพระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท
ไม่สำคัญว่าใครต้องรู้ต้องเห็น
สำคัญที่ เรารู้ว่าเรากำลังทำอะไร…
พระอาจารย์กล่าวอยู่เสมอว่า…ที่เลือกทำงานด้านสังคมและการพัฒนา เป็นเพราะ “ต้องการตอบแทนสังคม”
และการที่หลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ส่งไปอยู่ต่างจังหวัดตั้งแต่เป็นสามเณรนั้น ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงและความเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของพระพุทธศาสนา จึงเป็นที่มาของการเก็บเกี่ยวหล่อหลอม ที่นำมาสู่การริเริ่มและขับเคลื่อนงาน พระพุทธศาสนาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างเช่นทุกวันนี้
พระอาจารย์บวชเณรครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 7 ขวบ โดยความสมัครใจในการบวชเณรภาคฤดูร้อน ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมา พระอาจารย์ก็ขอโยมแม่บวชทุกปี ติดต่อกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 11 ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร โดยการฝากฝังของโยมพ่อ จนกระทั่งบวชพระในปี 2543 โดยหลวงพ่อเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นผู้มอบฉายา “สนฺติภทฺโท” หรือ “ภิกษุผู้สันติ” ให้
พระอาจารย์บอกอยู่เสมอว่า เมื่อมองย้อนกลับไป เมื่อครั้งที่หลวงพ่อสมเด็จส่งไปเรียนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เข้าใจในเจตนาของหลวงพ่อมากขึ้น และรู้สึกขอบคุณมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะการได้ไปอยู่ในสังคมต่างจังหวัด ทำให้ได้เห็นวิถีชีวิต การพึ่งพากันของวัดและชุมชน และการเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของคนในหลายๆมิติ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนเลยก็ว่าได้…. และกลายมาเป็นส่วนสำคัญของความคิดริเริ่มในการนำความเป็นต้นทุนทางสังคมนี้ มาบูรณาการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม ในงาน พระพุทธศาสนาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่พระอาจารย์กำลังขับเคลื่อนผ่าน IBHAP Foundation
นอกจากนี้ สิ่งที่พระอาจารย์ได้เห็นและซาบซึ้งมาตลอด คือการได้รับการดูแลเกื้อกูลจากสังคม เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยให้พระต้องพึ่งพาญาติโยมในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นนัยยะให้พระประพฤติปฏิบัติดีงามไปในตัว เพื่อให้สมกับการได้รับการดูแลจากญาติโยม… และความรู้สึกนี้เอง ทำให้พระอาจารย์เกิดความรู้สึกอยากตอบแทนสังคม โดยการใช้ความรู้ความสามารถที่ตนเองมี ในการสร้างประโยชน์… เป็นการตอบแทนในลักษณะ สังคมดูแลพระ ในขณะเดียวกัน พระก็ดูแลสังคม โดยการให้ธรรมะ เป็นที่พึ่งทางใจ และเป็นผู้นำการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมาสู่สังคม
หลายคนเคยบอกว่า พระอาจารย์เลือกเดินทางยาก…
หลายคนเกิดคำถามในสิ่งที่พระอาจารย์กำลังทำ…
บางครั้งสิ่งที่พระอาจารย์ทำ ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครเชิดชู…
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้ทำให้พระอาจารย์เปลี่ยนใจ แต่ยังคงมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ โดยรู้ว่า ตนเองกำลังทำอะไร เพื่ออะไร… โดยที่ไม่ลืมว่าความตั้งใจแรกเริ่มเดิมทีนั้นคืออะไร
เรื่องเล่าของอาจารย์ Richard
“มันสวยงาม ที่เห็นใครซักคนโดดลงไปในน้ำที่เหน็บหนาว และกลับขึ้นมาพร้อมกับชีวิตใหม่อีกครั้ง”
ประโยคนี้ มาจากอาจารย์ Richard ในระหว่างการสนทนาธรรมะและเรื่องอื่นๆในยามเย็นกับพระอาจารย์นภันต์ ที่วัดพุทธาราม Leeds โดยอาจารย์ได้แชร์ถึงกิจกรรมที่เคยได้รับความนิยมจากวัยรุ่นในขณะหนึ่ง ซึ่งรวมไปถึงลูกสาวของอาจารย์ Richard เองด้วย คือการกระโดดลงไปในน้ำที่เย็นเฉียบในช่วงฤดูหนาว และกลับขึ้นมา ซึ่งอาจารย์บอกว่า ทราบมาว่ากิจกรรมนี้ ช่วยการบำบัดอาการซึมเศร้าของบางคนได้ด้วย ราวกับว่าเมื่อลงไปเจอกับความหนาวจัดในน้ำ ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง ทำให้เรากลับชึ้นมาราวกับเป็นคนใหม่ที่พร้อมจะมีชีวิตอีกครั้ง
อาจารย์ สะท้อนถึงเรื่องนี้ว่า…
“It’s beautiful to see someone jumps into cold water, then comes back with life”
ซึ่งประโยคนี้ ยังคงสร้างความประทับใจให้กับแอดมินจนถึงทุกวันนี้ เพราะเสมือนเป็นการอุปมาอุปมัยถึงการใช้ชีวิตและเรื่องอื่นๆได้เป็นอย่างดี
ดั่งเช่นเวลาที่เราต้องเผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ซึ่งบางครั้งอาจดูเหมือนว่าหนักหนาเกินกว่าที่เราจะผ่านมันไปได้ แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อเราผ่านมันไป เราก็จะเติบโต ทั้งทางความคิด สติปัญญา และจิตวิญญาณ ราวกับมีชีวิตใหม่ขึ้นมาได้อีกครั้งหลังจากที่ต้องเผชิญความหนาวเหน็บ และความรู้สึกอึดอัดจากการที่กำลังจะจมน้ำ
ดั่งเช่นเวลาที่เราต้องเผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ซึ่งบางครั้งอาจดูเหมือนว่าหนักหนาเกินกว่าที่เราจะผ่านมันไปได้ แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อเราผ่านมันไป เราก็จะเติบโต ทั้งทางความคิด สติปัญญา และจิตวิญญาณ ราวกับมีชีวิตใหม่ขึ้นมาได้อีกครั้งหลังจากที่ต้องเผชิญความหนาวเหน็บ และความรู้สึกอึดอัดจากการที่กำลังจะจมน้ำ
ดังนั้น หากตอนนี้ท่านใดกำลังอยู่ในน้ำเย็นจัด ไม่ว่าจะเพราะตั้งใจที่จะโดดลงไปเอง พลัดตกลงไป หรือโดนผลักให้ตกลงไป ขอให้อย่าย่อท้อที่จะมีชีวิตรอดกลับขึ้นไปเจอชีวิตใหม่ที่ดีขึ้น และเติบโตขึ้น และเป็นข้อพิสูจน์ให้คนอื่นๆที่อาจจะกำลังเผชิญความยากลำบากคล้ายๆกัน ว่า เราจะผ่านมันไปได้
ปล. กิจกรรมนี้ มีความอันตรายในตัว และมีเคสคนเสียชีวิต ตามที่อาจารย์ Richard ได้แชร์ไปแล้ว ไม่ควรทำตาม
“ผมเป็นคนรักร่วมเพศ และผมเป็นจิตแพทย์”
“ผมเป็นคนรักร่วมเพศ และผมเป็นจิตแพทย์”
ในปี 1972 ชายสวมหน้ากากประหลาดในชุดทักซิโด้ เดินเข้ามา และกล่าวขึ้นในการประชุมสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา และเขาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์…
.
ชายคนนั้น แท้จริงแล้ว คือ นพ. John Ercel Fryer จิตแพทย์ชาวอเมริกัน โดยในการประชุมดังกล่าว เขาได้เข้ามาในที่ประชุมในชุดทักซิโด้ สวมวิก และสวมหน้ากาก (ดังภาพ) พร้อมได้รับการแนะนำว่าคือ Dr. Henry Anonymous สิ่งที่เขากล่าวในวันนั้น ผ่านร่างตัวละคร Dr. Henry ต่อหน้าเพื่อนร่วมวิชาชีพจำนวนมากในที่ประชุม ผ่านไมโครโฟนแปลงเสียง คือ…
.
“I am a homosexual. I am a psychiatrist”
(ผมเป็นคนรักร่วมเพศ และผมเป็นจิตแพทย์)
.
เพื่อต้องการสื่อนัยยะและยืนยันว่า การรักร่วมเพศนั้น ไม่ใช่ความเจ็บป่วยทางจิตใจ (เพราะจิตแพทย์ ก็เป็นคนรักร่วมเพศได้) และคำกล่าวนี้ นับได้ว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่ช่วยเปลี่ยนความเข้าใจ และมุมมองต่อการเป็นคนรักร่วมเพศ อีกทั้งยังเป็นกุญแจสู่ความเท่าเทียมของคนกลุ่มนี้ในสังคม
.
นับตั้งแต่ปี 1952 การเป็นคนรักร่วมเพศ (homosexuality) ถูกจัดไว้เป็นความผิดปกติทางจิตเวช (mental disorder) ชนิดหนึ่ง โดยมีการระบุไว้ใน Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders หรือ DSM ซึ่งเป็น guideline วินิจฉัยและรักษาโรคจิตเวชที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศอื่นๆในโลกด้วย โดยแนวทางการรักษาที่ระบุไว้ มีตั้งแต่ การใช้สารเคมีทำให้อัณฑะฝ่อ (Chemical castration), การทำให้ชักด้วยการช็อตไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy) รวมไปถึงการทำลายเนื้อสมองส่วนหน้าบางส่วน โดยใช้แท่งเหล็กสอดผ่านท่อน้ำตาเข้าไปสู่สมอง (Lobotomy)
.
การปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมที่มีมาโดยตลอด และการถูกจัดให้เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตเวช นำมาสู่การขับเคลื่อน เรียกร้องจากกลุ่มนักเคลื่อนไหวรักร่วมเพศมาตั้งแต่ประมาณกลางช่วงปี 1960 และสร้างความกดดันให้กับสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา สำหรับตัว นพ. Fryer เอง ก็มีประสบการณ์การถูกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน เช่น ถูกขับไล่ออกจากที่พักและเคยสูญเสียงานที่ทำ เพียงเพราะเขาเป็น “เกย์”… นพ. Fryer ระบุในบทความในวารสาร Gay & Lesbian Psychotherapy ว่า เขาคิดว่าแง่มุมเหล่านี้ ควรได้รับการสื่อสารโดยจิตแพทย์ที่เป็นเกย์ ให้กับกลุ่มผู้ฟังที่พร้อมจะรับฟังจิตแพทย์… หากแต่เขาไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง… จึงเป็นที่มาของ Dr. Henry ในชุดทักซิโด้ สวมวิก สวมหน้ากาก ที่พูดผ่านไมโครโฟนแปลงเสียงในการเสวนา หัวข้อ “Psychiatry: Friend or Foe to Homosexuals?” (จิตเวชศาสตร์: มิตร หรือ ศัตรู ของคนรักร่วมเพศ?) ที่การประชุมสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา ในปี 1972 ซึ่งได้รับเสียงปรบมืออย่างล้นหลาม โดยเฉพาะจากผู้ฟังแถวหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารโรงพยาบาล
.
จากนั้น ในปีถัดมา DSM ได้ยกเลิกการจัดการเป็นคนรักร่วมเพศเป็นความผิดปกติทางจิตเวช ซึ่งส่งผลให้เกิดการลดการแบ่งแยกทางเพศในบริบทอื่นๆในสังคมด้วย เช่น ในโบสถ์ โรงเรียน หรือกองทัพ นับเป็นการทวงคืนสิทธิมนุษยชนให้กับคนกลุ่มนี้
.
การเปลี่ยนแปลงโดย นพ. Fryer นี้ ได้ถูกบันทึกในประวัติศาตร์ของ Association of LGBTQ+ Psychiatrists และในปี 2005 สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกายังได้จัดทำรางวัล “John Fryer Award” เพื่อเป็นเกียรติให้กับ นพ. Fryer โดยรางวัลนี้จะถูกมอบให้ผู้ที่ขับเคลื่อนและทำคุณประโยชน์เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของกลุ่มคนรักร่วมเพศ
.
จากเรื่องราวของ นพ. Fryer ทำให้เราเรียนรู้ว่า…
อย่าให้ profession ความรู้ความชำนาญดั้งเดิม หรืองานที่เราทำ มากำหนดว่าเราทำสิ่งใดได้หรือไม่ได้ ดังเช่นกรณีนี้ที่ทำให้เราเห็นว่า แพทย์ ก็สามารถเป็นกระบอกเสียงและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่นำมาสู่ความเท่าเทียมในสังคม และเรียกคืนสิทธิมนุษยชนของคนบางกลุ่มได้
.
หวังว่าเรื่องนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคน
.
สำหรับผู้สนใจ สามารถอ่านเรื่องราวของ นพ. John Fryer เพิ่มเติมได้ที่
https://www.nbcnews.com/nbc-out/out-news/-homosexual-psychiatrist-dr-anonymous-changed-history-rcna26836
John Fryer
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
The Official Launch of Sunway Charter
COP16 Key Takeaways from Venerable Napan
Venerable Napan Thawornbanjob, as Chair of IBHAP Foundation and Honorable Advisor of 30 x 30 Thailand Coalition participated as a panelist in COP16’s side event “Integral Ecology to Reverse Biodiversity Loss”, by the support of EcoCitiZen, in Cali, Colombia.
Venerable Napan stated that it was the opportunity to learn from and exchange ideas with people from all over the world who share a mutual dedication and good intentions to make this world a better place to live, not only for our generation, but also the future ones.
Additionally, it was an honor, as a Buddhist monk, to have the opportunity to convey the issues of natural resource consumption and biodiversity by integrating Buddhist teachings and the concept of mindfulness, and share with the researchers, scholars, and environmental practitioners from various countries, called “Integral Ecology Research Network (IERN)”, which was officially launched at the event.
The key points he shared were:
1. While we are consuming natural resources for our survival, we must remain mindful and not forget that we must pass on this right to future generations for their survival as well.
2. In Buddhism, the concept of “karma” means that what we think, say, or do will affect us. The same goes for how we treat the world. As the Buddhist proverb says, “Kammuna vattati loko,” meaning “the world is driven by karma”. Through the lens of “Planetary Health,” the term “world” here can include both the planet itself and the living beings on it.
3. Three key points regarding addressing biodiversity loss, including
– Communication
– Strategic collaboration
– Meaningful engagement
We need to be patient in repeating these messages until awareness is raised, followed by serious action that leads to change. We must also collaborate to amplify the voices of those who are voiceless. Furthermore, we must use strategic communication to keep these issues in the public consciousness, so they are not forgotten, and the problems are not left unresolved as they often are.
He emphasised at the end of his talk that
“No more engagement, Let’s get married. As a Buddhist monk , I cannot get married but you know what I mean… Let’s connect to each other not just contact. The time for “loose engagement” through meetings and discussions is over. We need to collaborate seriously and act to achieve tangible results.”
Thanks to EcoCitizen for supporting his participation in the event, including the travel and accommodation arrangements, CELAM (Latin American and Caribbean Episcopal Council) for their warm hospitality and providing the Monsignor Jesús Antonio Castro Becerra Meeting and Training House for his stay in Cali, Colombia.
Special thanks to Salvatore Coppola-Finegan and everyone at EcoCitizen for everything and Ms. Siriporn SRIARAM for coordinating the invitation to participate in this event, as well as Father Peter Rožič and Jafeth Rodriguez for the friendships.
And thank you to EcoCitizen, Ms. Siriporn, Father Peter and Jafeth for the photos.