ว่าด้วยการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมของ IBHAP Foundation…
บางท่านอาจมีภาพจำว่า ขับเคลื่อนตาม SDGs อย่างเดียวเท่านั้น หรือมุ่งเน้นที่การแยกขยะ และลดการใช้พลาสติกเท่านั้น…
แต่แท้จริงแล้ว IBHAP Foundation ขับเคลื่อนงานทั้งเชิงปฏิบัติและเชิงนโยบาย อีกทั้งยังมีส่วนสนับสนุน Global goals อื่นๆอีกมากมายนอกเหนือจาก SDGs เป้าที่ 12, 13, 14, 15 อีกด้วย เช่น นโยบาย Nature-based Solution (NbS) ซึ่งเป็นการส่งเสริม Nationally-Determined Contributions (NDCs) ซึ่งเชื่อมกับ Paris Agreement อีกด้วย
บทบาทหลัก ของ IBHAP Foundation คือ
1. เราพยายามนำองค์ความรู้และนโยบายในระดับนานาชาติ หรือในระดับชาติ มาบูรณาการให้เกิดการปฏิบัติจริงในระดับชุมชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับบุคคล
ซึ่งหลายท่านคงทราบดี ว่าภายใต้งาน พระพุทธศาสนาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Buddhism for SDGs ซึ่งริเริ่มโดยพระอาจารย์นภันต์ เราได้บูรณาการคุณค่าและความเป็นต้นทุนทางสังคมของพระพุทธศาสนาในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก โดยการนำ Sustainable Development Goals ซึ่งเป็นนโยบายและองค์ความรู้ในระดับนานาชาติและระดับชาติ มาสู่การปฏิบัติจริงในระดับบุคคลและระดับชุมชน โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในฐานะที่เป็นที่พึ่งทางใจและเป็นแบบอย่าง อีกทั้งยังใกล้ชิดกับชุมชน เรียกว่า เราใช้ความเป็น Faith-based Organisation (FBO) ของเรา ในการขับเคลื่อนงาน
นอกจากนี้ เรายังนำแนวคิดและแนวปฏิบัติจากระดับท้องถิ่น ไปแชร์ในระดับนานาชาติ เป็นการกระจายองค์ความรู้และแนวปฏิบัติสองทาง ในฐานะ Bridge Organisation เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
บทบาทด้านนี้ เราเห็นได้จากการที่ เรามี ย่ามและผ้ารับประเคนลดโลกร้อนที่ผลิตจากเศษผ้าเหลือในอุตสาหกรรม ซึ่งเราทำร่วมกับ moreloop รวมทั้ง MOU “Wat Saket Zero Waste” การรณรงค์ลดการใช้ single-use plastic หรือการให้ความรู้และการลงมือปฏิบัติเรื่องการแยกขยะ
หรือการลงนาม MOU และการร่วมจัดกิจกรรมในโครงการ “ทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ลดฝุ่น” โดยมูลนิธิ ปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ ก็นับเป็นภาพชัดของการทำตามนโยบายระดับนานาชาติ NbS ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ธรรมชาติในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
โดยในปัจจุบันมีการกระตุ้นให้นานาประเทศผนวกหลักการของ NbS เข้าสู่นโยบายการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมระดับชาติ ซึ่งหากประเทศเหล่านั้นลงนามในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ด้วยแล้ว ก็จะต้องดำเนินการแบบเป็นรูปธรรมชัดเจน มีการติดตามวัดผล และรายงานทุกๆ 5 ปี ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า NDCs ซึ่งประเทศไทยก็เข้าข่ายที่ว่านี้เช่นเดียวกัน
ทั้ง NbS และ NDCs เป็นสิ่งที่ถูกกล่าวถึงบ่อยมากในงาน COP29 ในปีที่ผ่านมาฮับ ถ้าลองดูจากงานวิจัย ก็จะเห็นสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วช่วง 5 ปีหลัง ของประเทศที่เริ่มมีการนำ NbS มาใช้ รวมถึงผนวก NbS เข้ากับ NDCs
อีกทั้งหลักการเหล่านี้ยังสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่พูดถึงกันในงาน COP29 อีกเช่นกัน คือ นอกจากนโยบายแบบเดิมที่เราเน้นไปที่การป้องกัน และเยียวยาผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว เราควรมุ่งเน้นการ “ปรับตัว” เข้ากับผลลัพธ์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วด้วย
2. นอกจากการปฏิบัติในระดับบุคคลและระดับชุมชน เรายังขับเคลื่อนงานด้านนโยบาย โดยสนับสนุนและเป็นกระบอกเสียงให้มีการนำองค์ความรู้และนโยบายระดับนานาชาติ เข้าสู่นโยบายระดับชาติ
เราใช้จุดแข็งของการมี partnership เป็นองค์กรต่างประเทศที่ขับเคลื่อนงานด้านนี้ ในการร่วมผลักดันให้องค์ความรู้และนโยบายระดับนานาชาติที่เป็นประโยชน์ ถูกนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังโดยเริ่มจากการสนับสนุนให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในนโยบายระดับชาติ ที่จะผลักดันไปสู่การปฏิบัติในระดับชุมชน
เห็นได้ชัดจากงานล่าสุดที่ทางมูลนิธิได้พาคุณ Mitra, Senior Programme Manager ของ KAICIID Dialogue Centre ไปทำความรู้จักและสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิของไทยทั้งในด้านการศึกษา และผู้ที่เป็น policymaker รวมทั้งการเสนอชื่อบุคลากรด้านต่างๆในการเข้าร่วมงาน Dialoge Cities Southeast Asia Conference ที่เมือง Davao ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปีที่แล้ว และการพา policymaker จากไทย ไปร่วมงาน PaRD Leader Meeting ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อขยายขอบเขตงาน หรือการที่พระอาจารย์รับเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของ 30×30 Thailand Coalition เครือข่ายอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพประเทศไทย และการเข้าร่วมงานระดับนานาชาติอีกมากมาย เช่น งาน COP16, COP29 หรืองาน Interfaith G20 & PaRD Annual Forum ที่จัดภายใต้ theme “Leaving No One Behind: The Well-being of the Planet and Its People” และงาน Planetary Health Annual Meeting Malaysia (PHAM) 2024
3. เราสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม และพร้อมพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนเหล่านั้น
หนึ่งในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจากงาน COP29 คือการสร้างการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (meaningful participation) ของกลุ่มคนชายขอบ ซึ่งหมายรวมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ (ซึ่งจริงจังมากจนถึงขนาดมีการออก Baku Workplan ในการผลักดันเรื่องนี้) ผู้นำศาสนา ผู้หญิง เยาวชน และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งถ้าหากคนเหล่านี้ไม่สามารถมีส่วนร่วมด้วยเนื่องจากขาดประสบการณ์หรือความรู้ ก็ต้องจัดการให้มีการเสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ที่เพียงพอที่จะเข้ามามีบทบาทได้
ในส่วนนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่ IBHAP Foundation พยายามทำมาตลอดทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการเสริมศักยภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ผู้หญิง เยาวชน และคนในชุมชน เช่น โครงการอบรมเขิงปฏิบัติการนำร่อง “บทบาทพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำและนำแก้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ” เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะให้กับพระสงฆ์และคนในชุมชน
ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และส่งเสริมการมีบทบาทในฐานะสมาชิกของสังคม อีกทั้งยังเป็นการคงคุณค่าของสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
มาถึงตรงนี้ ทุกท่านคงเห็นภาพชัดมากขึ้น เกี่ยวกับบทบาทและสิ่งที่ IBHAP Foundation กำลังขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งสำคัญคือ การจะทำให้สิ่งเหล่านี้สำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ระดับบุคคล ไปจนถึงระดับนโยบาย รวมทั้งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมจากทุกกลุ่ม